นวัตกรรม เทคโนโลยและสารสนเทศทางการศึกษา
ต้อนรับ
ยินดีต้อนรับ
29 กันยายน 2555
23 กรกฎาคม 2555
ความรับผิดชอบ
ความรับผิดชอบ
วิภา ทาโบราณ ( http://www.thaiedresearch.org/result/result.php?id=125 ) ได้ให้ความหมาย
ของความรับผิดชอบ (Responsibility) หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกซึ่งสามารถวัดได้โดยใช้แบบวัดพฤติกรรม ด้านความรับผิดชอบต่อตนเองและความรับผิดชอบต่อเพื่อน ในการวิจัยครั้งนี้ เน้นความรับผิดชอบ 2 ด้าน คือ
1. ความรับผิดชอบต่อตนเอง หมายถึง
พฤติกรรมที่แสดงออกในการตรงต่อเวลาการรู้จักหน้าที่ของตน การควบคุมความประพฤติของตน การปรับปรุงตนเองและการรู้จักรักษาอนามัยของตน สามารถวัดได้โดยใช้แบบวัดพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบต่อตนเองบและความรับผิดชอบต่อเพื่อน
2. ความรับผิดชอบต่อเพื่อน หมายถึง
พฤติกรรมที่แสดงออกในการรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน การยกย่องชมเชยเมื่อเพื่อนประพฤติตนเหมาะสมและตักเตือนเมื่อเพื่อนกระทำผิด การร่วมมือทำกิจกรรมกับเพื่อน และการมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สามารถวัดได้โดยใช้แบบวัดพฤติกรรมด้าน ความรับผิดชอบต่อตนเองและความรับผิดชอบต่อเพื่อน
ของความรับผิดชอบ (Responsibility) หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกซึ่งสามารถวัดได้โดยใช้แบบวัดพฤติกรรม ด้านความรับผิดชอบต่อตนเองและความรับผิดชอบต่อเพื่อน ในการวิจัยครั้งนี้ เน้นความรับผิดชอบ 2 ด้าน คือ
1. ความรับผิดชอบต่อตนเอง หมายถึง
พฤติกรรมที่แสดงออกในการตรงต่อเวลาการรู้จักหน้าที่ของตน การควบคุมความประพฤติของตน การปรับปรุงตนเองและการรู้จักรักษาอนามัยของตน สามารถวัดได้โดยใช้แบบวัดพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบต่อตนเองบและความรับผิดชอบต่อเพื่อน
2. ความรับผิดชอบต่อเพื่อน หมายถึง
พฤติกรรมที่แสดงออกในการรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน การยกย่องชมเชยเมื่อเพื่อนประพฤติตนเหมาะสมและตักเตือนเมื่อเพื่อนกระทำผิด การร่วมมือทำกิจกรรมกับเพื่อน และการมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สามารถวัดได้โดยใช้แบบวัดพฤติกรรมด้าน ความรับผิดชอบต่อตนเองและความรับผิดชอบต่อเพื่อน
http://www.sahavicha.com/?name=blog&file=readblog&id=231
ความซื่อสัตย์
ความซื่อสัตย์
“ ความซื่อสัตย์ ” เป็นคุณธรรมที่จำเป็นต่อทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์ในระดับไหนก็ตาม จะต้องมีการปลูกฝังหรือสอนเยาวชนรุ่นหลังให้ประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะ หากคนในสังคมขาดคุณธรรมข้อนี้เมื่อใด สังคมก็จะวุ่นวาย ไม่สงบ คนจะเอารัดเอาเปรียบกัน และเห็นแก่ตัวมากขึ้น จนก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมายดังตัวอย่างที่กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะขอยกมาให้เห็น ดังนี้
-การไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง เช่น เราตั้งใจว่าจะไม่กินของหวาน ของมันเพื่อลดน้ำหนัก แต่เราก็แอบกิน แม้คนอื่นไม่ทราบ แต่เราก็รู้ตัวเราดี ผลเสีย คือ เราก็จะอ้วน และเป็นโรคอื่นตามมา หรือตั้งใจจะอ่านหนังสือ แล้วก็ไม่อ่าน เพราะมัวไปเที่ยวเล่น ดูหนัง หรือเล่นเนท ผลเสียคือ เราอาจจะสอบตก ซึ่งหากเราขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และผัดผ่อนไปเรื่อยๆ ในระยาวเราอาจจะกลายเป็นคนขาดระเบียบ ขาดความตั้งใจ กลายเป็นคนทำอะไรไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต
-การไม่ซื่อสัตย์ต่อครอบครัว เช่น ไปมีชู้ มีกิ๊ก ติดพันนักร้องนักแสดง มีความสัมพันธ์กับคนที่มีครอบครัวแล้ว แม้จะไม่ต้องรับผิดชอบเลี้ยงดู แต่ก็จะทำให้ละเลยต่อลูกเมีย หรือสามี สร้างปัญหาในชีวิต ก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังเป็นที่ดูถูกเหยียดหยามของผู้อื่น หากเป็นหัวหน้าไปมีสัมพันธ์กับลูกน้อง ก็จะทำให้ลูกน้องคนอื่นๆขาดความเชื่อถือ หรือหัวหน้าระดับสูงขึ้นไปไม่ให้ความไว้วางใจ เป็นต้น
-การไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงาน เช่น เป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจใช้อำนาจในทางมิชอบ กระทำทุจริต หรือแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือครอบครัว ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและบ้านเมืองดังที่เราจะเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน หรือหากเป็นพ่อค้าแม่ขาย ชาวสวนชาวนาไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ขายของโกงเขา หรือใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ฯลฯ ก็จะทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท โรคภัยไข้เจ็บจากสารพิษสะสมในร่างกาย เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้เกี่ยวข้องทั้งสิ้น
-การไม่ซื่อสัตย์ต่อมิตร นอกเหนือจากญาติแล้ว เป็นธรรมดาที่คนเราต้องมีการคบหาสมาคมกับผู้อื่น เป็นมิตรต่อกัน และต้องพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งความเป็นมิตรนั้นจะคงทนถาวรอยู่ได้ตลอดไปก็ต้องมีความซื่อสัตย์ ไม่คิดคดทรยศต่อกัน มิตรภาพจึงจะยาวนาน หากไม่ซื่อตรงต่อกันแล้ว ก็ย่อมจะแตกความสามัคคี ทำให้เราไม่มีเพื่อน หรืออยู่ในสังคมได้ยากเพราะกลัวคนอื่นจะหักหลังเราตลอดเวลา เป็นต้น
-การซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะหากชาติอยู่ไม่ได้ ประชาชนคนในชาติก็อยู่ไม่ได้ และหากชาติล่มสลาย ก็คือพวกเราที่จะกลายเป็นคนไร้แผ่นดิน ซึ่งคงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น
ตัวอย่างข้างต้น คงจะทำให้เห็นแล้วว่า “ ความซื่อสัตย์ ” เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากขาด “ ความซื่อสัตย์ ” แล้ว สังคมคงยุ่งเหยิง เกิดความหวาดระแวง ไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน เกิดความโกลาหลไปทั่ว ไม่รู้สิ่งไหนจริง สิ่งไหนเท็จ ถ้าขาดในระดับบุคคลก็จะกลายเป็นคนไม่น่าเชื่อถือและมีปัญหาอยู่ตลอดเวลา ส่วนในระดับประเทศ ก็จะไร้ซึ่งเกียรติภูมิ เป็นที่ดูถูกของชาติอื่น ซึ่งความซื่อสัตย์ที่ว่านี้ รวมไปถึงการมี สัจจะ พูดจริงทำจริง ไม่โกหกหรือพูดเหลวไหล พูดคำไหนเป็นคำนั้นด้วย คนเช่นนี้ไปที่ใด ย่อมเป็นที่เคารพนับถือว่าเป็นคนมีเกียรติ ข้อสำคัญ ถ้าทุกคนทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ย่อมจะทำให้สังคม และประเทศชาติมีความมั่นคง สงบสุข อันมีผลดีต่อประชาชนคือ ตัวเราทุกคนนั่นเอง
http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=1644
ชื่อวิชา
รหัสวิชา PC54505 3(2-2-5)
วิชานวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา
Innovation, Technology and Information in Education
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา
คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ภาคเรียนที่ 1/2555
วิชานวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา
Innovation, Technology and Information in Education
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา
คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ภาคเรียนที่ 1/2555
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การวิเคราะห์ ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการ เรียนรู้ การสร้าง การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล การปรับปรุงนวัตกรรม สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การวิเคราะห์ ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการ เรียนรู้ การสร้าง การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล การปรับปรุงนวัตกรรม สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
วัตถุประสงค์
เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
1. อธิบายความหมายของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
2. ยกตัวอย่างนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
4. บอกถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
5. บอกความหมายและประเภทแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ได้
6. อธิบายพื้นฐานการออกแบบการเรียนการสอนได้
7. อธิบายรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
8. ยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
9. อธิบายวิธีการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้
10. เสนอแนวทางในการสร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาได้อย่างน้อย 1 รายวิชา
11. สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมได้
12. ยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างน้อย 3 เรื่อง
เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
1. อธิบายความหมายของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
2. ยกตัวอย่างนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
4. บอกถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
5. บอกความหมายและประเภทแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ได้
6. อธิบายพื้นฐานการออกแบบการเรียนการสอนได้
7. อธิบายรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
8. ยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
9. อธิบายวิธีการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้
10. เสนอแนวทางในการสร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาได้อย่างน้อย 1 รายวิชา
11. สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมได้
12. ยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างน้อย 3 เรื่อง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)